วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การวิเคราะห์ความต้องการของระบบเครือข่าย

         1. การศึกษาระบบเครือข่ายเดิม คือ ในการออกแบบระบบเครือข่ายนั้น ผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงข้อมูลต่างๆ ขององค์กร อาทิเช่น ลักษณะโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ลักษณะการทำงาน เป็นต้น

         2. การวิเคราะห์ความต้องการจากผู้ใช้งาน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานหรือ ความต้องการส่วนบุคคล

        3. การวิเคราะห์ความต้องการขององค์กรจากผู้บริหาร เพื่อเก็บข้อมูลว่าองค์กรมีความต้องการใช้งานระบบเครือข่ายอย่างไร

        4. การวิเคราะห์ความต้องการด้านเทคโนโลยี เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการใช้งานในเทคโนโลยีอย่างไร มีความทันสมัยมากน้อยเพียงใด
Picture
ศึกษาความเป็นไปได้ของการออกแบบระบบ

หลังจากเก็บข้อมูลความต้องการของระบบเครือข่ายได้แล้วนั้น ก็จำเป็นต้อง ศึกษาถึงความเป็นไปได้สำหรับการออกแบบระบบเครือข่ายตามความต้องการที่ได้รับ เนื่องด้วยความต้องการที่ได้เก็บรวบรวมมาอาจทำได้ไม่ครบหรือทำได้ไม่ครบถ้วนสมบรูณ์

เลือกประเภทของเครือข่าย

LAN (Local Area Network ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น)
Picture
เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนักอาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กันเช่น ภายในมหาวิทยาลัยอาคารสำนักงานคลังสินค้าหรือโรงงานเป็นต้นการส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย

MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
Picture
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร 

WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
Picture
 เป็น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วย กัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้

แบ่งตามลักษณะ การไหลของข้อมูล มีดังนี้
โครงข่ายแบบรวมอำนาจ (Centralized Networks)

Picture
โครงข่ายแบบรวมอำนาจนี้ประกอบด้วยรูปแบบย่อย 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
                - โครงข่ายแบบล้อ (Wheel Network) เป็นรูปแบบที่รวมอำนาจมากที่สุด ข่าวสารทุกอย่างจะต้องไหลผ่านบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของล้อ
                - โครงข่ายแบบลูกโซ่ (Chain Network) เป็นรูปแบบที่สมาชิกบางคนสามารถติดต่อสื่อสารกับสมาชิกคนอื่น ๆได้มากกว่า 1 คน อย่างไรก็ตามบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของลูกโซ่ยังคงเป็นผู้ควบคุมข่าวสารทั้งหมด
                - โครงข่ายแบบ Y (Y Network) เป็นรูปแบบผสมระหว่างแบบล้อกับแบบลูกโซ่

โครงข่ายแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Network)
Picture
                   - โครงข่ายแบบวงกลม (Circle Network) เป็นรูปแบบที่อนุญาตให้สมาชิกแต่ละคนสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นที่ อยู่ติดกันได้ทั้ง 2 ข้าง
                - โครงข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นรูปแบบที่มีการกระจายอำนาจมากที่สุด รูปแบบนี้จะเปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนที่จะติดต่อสื่อสารกับสมาชิกคนใดก็ได้ โดยไม่จำกัดเสรีภาพ

แบ่งตามลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer
Picture
งานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่นการใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone)

ข้อดีและข้อด้อยของระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

Ò  ข้อดีของระบบนี้คือ ความง่ายในการจัดตั้งระบบ มีราคาถูก และสะดวกต่อการบริหารจัดการ ดังนั้นระบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับสำนักงานขนาดเล็ก ที่มีสถานีงานประมาณ 5-10 เครื่องที่วางอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
   

Ò  ข้อด้อยของระบบนี้คือ เรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากไม่มีระบบการป้องกันในรูปแบบของ บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของระบบ

ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
Picture
                                                            รูปแสดงตัวอย่างโครงสร้างระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง

เลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบเครือข่าย

เทคโนโลยีระบบเครือข่าย LAN

LAN (Local Area Network) คือเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงและทนทานต่อการเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการรับส่งข้อมูล เครือข่าย LAN นั้นจะครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก โดยปกติจะเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ไม่ห่างกันมากนัก
Picture
อีเทอร์เน็ต (Ethernet)

อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นตัวเชื่อม สำหรับระบบบัส เป็นระบบเทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณ เส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub)

        วิธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก
        ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที

โทเก็นริง (Token Ring)
Picture
โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษัท ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้ การติดต่อสื่อสารแบบนี้จะมีการจัดลำดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่เกิดการสูญหายของข้อมูล

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN)

การส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแบบไร้สาย นั้นมีอยู่ 2 เทคโนโลยี คือ แบบใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency) และแบบใช้สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) ซึ่งแบบใช้คลื่นความวิทยุยังแบ่งการส่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Narrowband และ Spread-Spectrum ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

            แบบคลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency) ใช้ลักษณะการแปลงข้อมูลไปเป็นคลื่นทำให้สามารถส่งไปได้ระยะทางที่ไกล สามารถผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี ร่วมทั้งเป็นการส่งแบบทุกทิศทาง

การรับส่งโดยใช้คลื่นวิทยุนั้นมี 2 ประเภท

        1.แบบคลื่นความถี่แคบ (narrowband) จะรับส่งข้อมูลโดยแปลงเป็นบางช่วงสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า ISM ( Industrial / Scientific / Medical ) ที่มีความถี่แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 902-928 MHz, 2.14 - 2.484 MHz และ 5.725 - 5.850 MHz โดยการใช้งานต้องมีการขออนุญาตก่อนจาก FCC (Federal Communication Committee)

        2. คลื่นความถี่วิทยุแบบ Spread-Spectrum เป็นการวิธีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ความถี่วิทยุ มากกว่าความต้องการเพื่อป้องกันคลื่นรบกวนและการดักฟัง ที่มีความถี่แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 902 - 928 MHz และ 2.4 - 2.484 MHz ซึ่งไม่ต้องได้รับอนุญาตจาก FCC

แบบสัญญาณอินฟราเรด (Infrared)

โดยอินฟราเรดเป็นส่วนหนึ่งของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่เหนือคลื่นวิทยุ และต่ำกว่าแสงที่มองเห็น โดยแสงอินฟราเรดสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงแม้ว่าการส่งจะถูกจำกัดให้เป็นแนว เส้นตรง และที่จะต่อเครื่องพีซีเข้ากับเครื่องพิมพ์หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยไร้สาย

                                                       รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย
Picture
                                                                        รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย
Picture
เลือกระบบปฏิบัติการที่ใช้ในระบบเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบัน 

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบันมีอยู่หลายตัวให้เลือกใช้ ทั้งที่สามารถใช้งานได้ ฟรี และต้องเสียค่าใช้จ่าย จำเป็นที่ผู้ออกแบบต้องพิจารณาเลือกให้มีความเหมาะสมมากที่สุดกับ ระบบเครือข่ายที่ออกแบบไว้
Picture
                   -  Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็น
ดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์

               - Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆไป

                - NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้

                - OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสำหรับการค้าขายในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การออกแบบระบบ

เมื่อผู้ออกแบบระบบเครือข่ายมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้วนั้นก็สามารถลงมือทำ การออกแบบระบบเครือข่ายได้ โดยในการออกแบบเครือข่ายนั้นอาจทำโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยในการวาดและออกแบบได้ เช่น Microsoft Visio

                                                    รูปแสดงตัวอย่างการออกแบบระบบเครือข่าย
Picture
การติดตั้งและพัฒนาระบบ

ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบระบบเครือข่ายอาจมอบหมายให้ช่างผู้ชำนาญการ ทำการ ติดตั้งได้หรือมอบหมายให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเขามาดำเนินการ โดยจะต้องเขาควบคุม ตรวจสอบให้การติดตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและใช้งานได้อย่างดีตามที่ได้ออกแบบไว้
การออกแบบระบบเครือข่าย
ก่อนเริ่มการออกแบบระบบเครือข่าย
หลักการพื้นฐานขั้นตอนแรกก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนการออกแบบสำหรับระบบเครือข่ายก็คือ เราควรจะต้องมีการศึกษาถึงความต้องการการใช้งานระบบเครือข่ายที่แท้จริง และระบบการทำงานขององค์กรก่อน รวมถึงควรต้องมีการประเมินและวิเคราะห์ระบบเครือข่ายที่เราจะออกแบบอย่างละเอียดเสียก่อน เพราะว่าแต่ละองค์กรก็จะมีความต้องการประโยชน์จากระบบเครือข่ายในด้านธุรกิจแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น บางองค์กรต้องการระบบเครือข่ายที่เน้นการเชื่อมต่อสู่ระบบ Internet  หรือบางองค์กรต้องการระบบที่เน้นการรับ-ส่งข้อมูลภายใน  หรือบางองค์กรอาจจะต้องการระบบเครือข่ายที่เน้นการส่งข้อมูลแบบแพร่กระจาย (Multicast/Broadcast Packet) เช่นจำพวก Video Conference เป็นต้น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ผู้ออกแบบระบบเครือข่ายจะต้องศึกษาและคำนึงถึงก่อนที่จะเริ่มออกแบบระบบเครือข่ายให้แก่องค์กรนั้นๆ
หลังจากที่เราได้มีการศึกษาและวิเคราะห์ถึงรูปแบบความต้องขององค์กรที่เราจะำทำการออกแบบระบบเครือข่ายแล้วนั้น  ขั้นตอนต่อมาที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงก็คือ การแบ่งการทำงานออกเป็นส่วนๆ และมีการกำหนดลำดับความสำคัญของงานแต่ละส่วนไว้  ซึ่งจะทำให้เรามีการวางแผนการทำงานได้ว่า งานส่วนไหนควรจะลงมือทำก่อน งานส่วนไหนสามารถทำทีหลังได้ และจะทำให้ระบบเครือข่ายที่เราออกแบบมานั้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด  ซึ่งในครั้งนี้จะนำตัวอย่างการวิเคราะห์ระบบเครือข่ายในองค์กร 2 รูปแบบ ทั้งองค์กรแบบ Enterprise และองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดย่อมลงมา (SOHO - Small Office Home Office) มาพูดคุยกันนะครับ

ระบบเครือข่ายขององค์กรระดับ Enterprise
สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่าองค์กรลักษณะ Enterprise นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นองค์กรที่มีผู้ใช้งานระบบเครือข่าย (User) เป็นจำนวนมากๆ อาจเป็นหลักร้อยหรือหลักพันในบางองค์กร  นอกจากนั้น ในระบบเครือข่ายนั้นจะมีอุปกรณ์ Server หลายๆ เครื่องสำหรับการเก็บข้อมูล และระบบเครือข่ายอาจจะครอบคลุมบริเวณที่กว้าง  อาจจะหลายๆ ตึกในบริเวณเดียวกัน หรือบริเวณใกล้ๆ กัน หรืออาจจะรวมไปถึงองค์กรที่มีระบบเครือข่ายครอบคลุมหลายๆ จังหวัด ในกรณีที่มีสาขาหรือโรงงานหลายๆ แห่ง  ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบเครือข่ายลักษณะนี้จะเป็นการเชื่อมต่อกันของระบบเครือข่ายย่อยๆ หลายเครือข่ายเข้ามาที่เครือข่ายหลัก หรือที่เรียกว่า Backbone Network ซึ่งระบบเครือข่าย Enterprise นั้นส่วนใหญ่แล้วจะต้องการอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงและมีราคาแพง  และจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลระบบที่มีความรู้และเชี่ยวชาญมาจัดการและดูแลระบบเครือข่าย
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับระบบเครือข่าย Enterprise นั้นก็คือเรื่องของประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ Backbone หรืออุปกรณ์เครือข่ายหลัก  ซึ่งอุปกรณ์ที่จะมาทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ Backbone นั้นควรจะเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูง, สามารถจัดการกับขนาดของข้อมูลมากๆ หรือข้อมูลขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาจากเครือข่ายย่อยของสาขาต่างๆ ได้อย่างดี, ต้องรองรับการขยายตัวของระบบเครือข่ายในอนาคตได้ดี, สามารถทำงานได้โดยปราศจากการขัดข้องที่ทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ (Downtime)  หรือถ้ามีก็จะต้องทำให้เกิดน้อยที่สุด, เป็นอุปกรณ์ที่จัดการและดูแลไม่ยากจนเกินไป และที่สำคัญก็คือจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กรที่ดีด้วย  ซึ่งในส่วนของการเลือกอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานเป็นอุปกรณ์ Backbone จะได้นำกล่าวถึงในครั้งต่อๆ ไป

ระบบเครือข่ายขององค์กรระดับ SOHO (Small Office Home Office)
สำหรับระบบเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็ก หรือระดับ SOHO นั้นจะมีความต้องการการใ่ช้งานระบบเครือข่ายที่ไม่มากเท่าระบบเครือข่ายแบบ Enterprise ซึ่งเครือข่ายแบบ SOHO นั้นมักเป็นระบบที่ไม่ค่อยมีความซับซ้อนมากนัก มีจำนวนผู้ใช้งานไม่ถึงหลักร้อย  การรับ-ส่งข้อมูลมักจะเป็นการรับ-ส่งภายในระบบเครือข่ายขององค์กรเป็นส่วนใหญ่  และผู้ดูแลระบบก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมากนัก ซึ่งต่างจากระบบ Enterprise
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ระบบเครือข่ายระดับ SOHO ก็มีปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึงเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออกแบบระบบให้ใช้งานง่าย  สามารถให้บริการผู้ใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา  และสิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดสิ่งหนึ่งสำหรับการออกแบบเครือข่ายขนาดเล็กก็คือ การรองรับการขยายตัวของระบบเครือข่ายในกรณีที่องค์กรมีการขยายและพัฒนาในอนาคต  ทั้งในแง่ของขนาดของระบบเครือข่าย และในแง่ของเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นใหม่ด้วย
จะเห็นได้ว่า หลังจากที่เราได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ, รูปแบบ รวมถึงระบบการทำงานขององค์กรต่างๆ แล้วนั้น จะทำให้เราสามารถวางแผนในการออกแบบระบบเครือข่ายได้ง่ายขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของขนาดของระบบเครือข่าย, เทคโนโลยีที่จะใช้ในระบบเครือข่าย  รวมถึงการเลือกอุปกรณ์เพื่อเข้ามาใช้ในระบบเครือข่าย  แต่เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงทั้งระบบเครือข่ายขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ก็คือการออกแบบระบบเครือข่ายที่จะต้องรองรับการขยายและพัฒนาในอนาคต  โดยระบบเครือข่ายที่ดีนั้นควรจะต้องรองรับการขยายขององค์กรทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้งาน, รูปแบบ Application ใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคตด้วย

รูปแบบการทำงานของระบบเครือข่าย
ในรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายใดระบบหนึ่งนั้น มักจะมีรูปแบบการทำงานอยู่ 2 แบบหลัก คือแบบ Peer-to-Peer และแบบ Client/Server

รูปแบบเครือข่าย Peer-to-Peer
การทำงานของรูปแบบเครือข่าย Peer-to-Peer นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบที่จะใช้กับระบบเครือข่ายที่มีขนาดเล็กๆ  โดยการทำงานนั้นจะเป็นในลักษณะที่อุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีหน้าที่การทำงานที่คล้ายคลึงกัน ไม่มีการแบ่งลำดับความสำคัญของแต่ละเครื่องในระบบเครือข่าย
ส่วนมากการทำงานของระบบเครือข่าย Peer-to-Peer นั้นจะเป็นการใช้ข้อมูลของแต่ละเครื่องร่วมกัน  หรือการ Share ข้อมูลนั่นเอง  หรือที่เราเีรียกว่าการทำงานในรูปแบบ Workgroup  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการทำงานในรูปแบบ Peer-to-Peer นี้จะมีจำนวนผู้ใช้งานไม่เกินหลักสิบคน, มีจำนวนของข้อมูลที่มีรับ-ส่งกันไม่มากนัก  และยังไม่คำนึงถึงการขยายตัวของระบบเครือข่ายในอนาคตอันใกล้

รูปแบบเครือข่าย Client/Server
สำหรับการทำงานของเครือข่ายรูปแบบ Client/Server นั้นจะมีการแบ่งหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายเป็น 2 ส่วนคือ
  • Server  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ แก่อุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย
  • Client  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บริการต่างๆ ที่อุปกรณ์ Server มีัให้บริการ
รูปแบบเครือข่ายประเภทนี้มักจะมีการใช้งานในระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีจำนวนผู้ใช้งานมากขึ้น ดังนั้นระบบเครือข่ายควรจะต้องมีอุปกรณ์มาทำหน้าที่เป็น Server เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้งานต่างๆ หรือ Client ในระบบ  ซึ่งอุปกรณ์ Server นั้นนอกจากจะมีหน้าที่ในการให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลในระบบเครือข่ายแล้ว  Server ยังเป็นอุปกรณ์ที่เข้ามาคอยจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กรด้วย  ซึ่งถือเป็นอีกข้อดีของรูปแบบเครือข่าย Client/Server เพราะว่าเราสามารถกำหนดรูปแบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบเครือข่ายบนอุปกรณ์ Server และบังคับการใช้งานให้แก่ผู้ใช้หรือ Client ต่างๆ ในระบบเครือข่ายได้ ซึ่งจะทำให้มีการจัดการข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น
ในการออกแบบระบบเครือข่ายนั้น จุดประสงค์หลักของเราก็คือ ต้องการระบบที่สามารถรองรับการรับ-ส่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะเป็นระบบที่มีรูปแบบการทำงานผสมกันทั้งแบบ Peer-to-Peer และแบบ Client/Server  ดังนั้นในการออกแบบระบบเครือข่าย เราจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมขององค์กรว่าควรจะใช้รูปแบบของเครือข่ายแบบใด

ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นนั้น เป็นการหลักพื้นฐานในการออกแบบระบบเครือข่ายนะครับ ในครั้งหน้า เราจะยังคงคุยกันถึงเรื่องการออกแบบระบบเครือข่ายกันต่อครับ  โดยที่เราจะมาคุยกันถึงเรื่องเทคโนโลยีที่จะเลือกใช้บนระบบเครือข่าย รวมถึงการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้งานในระบบเครือข่ายด้วย

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ16 มกราคม 2565 เวลา 03:40

    Play Slots for Real Money at Gold Casino Online ボンズ カジノ ボンズ カジノ rb88 rb88 496Volcano Betting: How to Create an Account - ShootCasino

    ตอบลบ