วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การ์เครือข่าย

 การ์ดเครือข่าย

การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC: Network Interface Card)

       การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย หรือเรียกว่าการ์ด LAN เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซี เข้ากับสายเคเบิล ดังนั้นจึงต้องมีพอร์ตสำหรับเสียบสายแบบใดแบบหนึ่งที่จะใช้ หรืออาจมีพอร์ตสำหรับสายหลายแบบก็ได้ เช่น มีพอร์ตสำหรับสายโคแอกเชียล และสำหรับสายคู่ตีเกลียว แต่สำหรับการ์ดรุ่นใหม่ๆ มักจะเหลือแต่พอร์ตสำหรับสายคู่ตีเกลียวเพราะปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม นอกจากนี้ยังมีการ์ดที่ทำมาสำหรับใช้ต่อกับสายใยแก้วนำแสงซึงมักจะมีราคาแพงและใช้เฉพาะบางงาน
       การ์ด LAN จะมีสล็อตที่ใช้อยู่ 2 ชนิดคือ
       ISA 8 และ 16 บิต การ์ดแบบนี้จะสามารถรับส่งข้อมูลกับเครื่องพีซีได้ทีละ 8 หรือ 16 บิตที่ความถี่ประมาณ 8 MHz เท่านั้น โดยผ่านบัสและสล็อตแบบ ISA ตัวอย่างเช่น การ์ด NE1000 และ NE2000 ที่ผลิตตามแบบของบริษัท Novell เป็นต้น ซึ่งความเร็วในการทำงานจะต่ำกว่าแบบ PCI ซึ่งในปัจจุบันแทบจะไม่พบแล้ว
       PCI 32 บิต เป็นการ์ดที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ทีละ 32 บิตผ่านบัสแบบ PCI ด้วยความเร็วสูงถึง 33 MHz ปัจจุบันการ์ดแบบสล็อต PCI ราคาลดลงมาก
       ทรานซีฟเวอร์ (transceiver) เป็นส่วนหนึ่งของการ์ด LAN โดยจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณของคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณที่ใช้ในเครือข่าย ทรานซีฟเวอร์รุ่นเก่า ๆ จะเชื่อมต่อกับสายเคเบิลและการ์ด LAN แต่ในปัจจุบันจะนำทรานซีฟเวอร์นี้บรรจุเข้าไปในตัวการ์ด LAN เลย
       บนการ์ด LAN บางแบบจะมีที่เสียบชิปหน่วยความจำ ROM เป็นซ็อคเก็ตว่าง ๆ ทิ้งไว้ สำหรับใช้ในกรณีที่ต้องการให้เครื่องที่ใช้การ์ดนั้นสามารถบูตจากหน่วยความ จำของเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ในระบบ LAN ได้ ซึ่งก็จะต้องมี ROM ที่มีโปรแกรมพิเศษมาใส่ในซ็อคเก็ตว่างนี้ เรียกว่าเป็น bootROM โดยโปรแกรมใน ROM ดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งแอดเดรสที่ซีพียูจะเรียกใช้ในตอนที่บูตเครื่อง เช่นเดียวกับ ROM บนเมนบอร์ดนั่นเอง เมื่อมีโปรแกรมดังกล่าวเพิ่มเข้ามา ก็จะทำให้ซีพียูไปทำการบูตเครื่องผ่านการ์ด LAN และหน่วยความจำของเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ แทนที่จะบูตจากหน่วยความจำของเครื่องนั้น ๆ ตามปกติ เช่น ในกรณีที่ต้องการใช้งานพีซีนั้นในลักษณะเครื่องลูกข่ายที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
Note
Wake-On-Lan (WOL) เป็นคุณสมบัติที่ทำให้เครื่องที่อยู่ในสภาพ standby หรือ sleep อยู่สามารถตื่น (wake up) ขึ้นมาได้เมื่อมีสัญญาณเข้ามาทางการ์ด LAN ซึ่งคล้ายกับ wake-on-modem ที่พอมีสัญญาณโทรศัพท์เข้ามาทางโมเด็มก็จะปลุกให้เครื่องตื่นขึ้นมาทำงานต่อได้ ทำให้สามารถปล่อยให้เครื่องที่ต่อกับ LAN อยู่สามารถเปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา ซึ่งเครื่องจะเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานเมื่อไม่มีใครใช้ และจะตื่นกลับขึ้นมาทำงานทันทีที่มีผู้ติดต่อผ่าน LAN เข้ามา ทั้งนี้การ์ด LAN โดยทั่วไปจะต้องมีสายสัญญาณพิเศษสำหรับทำหน้าที่นี้มาให้ โดยเสียบเข้าที่คอนเน็คเตอร์เล็ก ๆ บนเมนบอร์ด (มักอยู่ข้างสล็อตที่เสียบการ์ด LAN นั่นเอง) ถ้าไม่เสียบ คุณสมบัตินี้ก็จะไม่ทำงาน


อุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ

 ปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย


1.โมเด็ม (Modem)

    โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิ ตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem



2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN

     เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่น หรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกัน จะดีกว่า
และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps
ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอน เน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน




3. เกตเวย์ (Gateway)

     เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล คอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่าย เดียวกัน



4. เราเตอร์ (Router)

     เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือ ข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้



5. บริดจ์ (Bridge)

     บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย



6. รีพีตเตอร์ (Repeater)

     รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับ สัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่
ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของ สัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ
เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical
7.  สายสัญญาณ

     เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ



         -     สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย



         -     สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ



8.  ฮับ (HUB) 

     เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต


สายสัญญาณ

สายสัญญาณที่ใช้ในระบบเครือข่าย
1. สายแบบคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
3. สายแบบเส้นใยนำแสง (Fiber-Optic Cable)
4. ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless Network)
5. ระบบไมโครเวฟ (Microwave)
6. ระบบดาวเทียม (Satellite)
1. สายแบบคู่บิดเกลียว ( Twisted-Pair Cable)
สายคู่เกลียวแบบมีชีลด์ และไม่มีชิลด์ (Shielded and Unshielded Twisted-Pair Cable)

เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ซึ่งประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นจะมีฉนวนหุ้มพันเป็นเกลียว ซึ่งสามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้
สายเกลียวหนึ่งคู่ หมายถึง หนึ่งช่องทางการสื่อสาร ซึ่งบางครั้งอาจมีหลายสายมัดรวมกันเป็นสายขนาดใหญ่ เพื่อใช้งานพร้อมกัน
• สายคู่แบบมีชีลด์ (STP) เป็นสายที่มีฉนวนหุ้มภายนอก ทำให้สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
• สายคู่แบบไม่มีชีลด์ (UTP) ใช้สำหรับเดินสายโทรศัพท์ และระบบเครือข่ายระยะใกล้ ซึ่งมีราคาค่อนข้างจะถูก
2. สายโคแอกเชียล ( Coaxial Cable)
ประกอบด้วย สายส่งข้อมูลที่เป็นทองแดงที่มีฉนวนหุ้มอยู่ตรงกลาง จากนั้นหุ้มด้วยสายนำที่เป็นสายกราวนด์ แล้วจึงหุ้มด้วยฉนวนอีชั้นหนึ่ง สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี สามารถส่งข้อมูลและเสียงได้เร็ว สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่า และเร็วกว่าสายคู่บิดเกลียว แต่ราคาจะแพงกว่า เช่น สายเคเบิล TV
สายสัญญาณที่ใช้ในระบบเครือข่าย
3. สายแบบเส้นใยนำแสง ( Fiber-Optic Cable)
เราอาจเรียกอีกชื่อว่า สายไฟเบอร์ออปติก ประกอบด้วย ใยแก้วหรือพลาสติกอยู่ตรงกลาง จากนั้นก็หุ้มด้วยใยแก้ว อีกชั้นหนึ่ง ( cladding) และชั้นนอกสุกจะหุ้มด้วยฉนวน ใยแก้วจะทำหน้าที่เหมือนกระจกใช้สะท้อน สัญญาณแสงให้สะท้อนไปมาจากจุดต้นทางไปจุดปลายทาง สามารถส่งข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และยังใช้ส่งข้อมูลระยะไกลได้ดี เนื่องจากใช้แสงเป็นตัวนำ จึงสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี แต่จะมีข้อเสียคือ ติดตั้งและการบำรุงรักษายาก นอกจากนี้ยังมีราคาแพงอีกด้วย
การสื่อสารข้อมูลโดยสายไฟเบอร์ออปติก ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

• อุปกรณ์กำเนิดแสง
• สายใยนำแสง
• อุปกรณ์ตรวจจับแสง
ปกติการส่งสัญญาณแสง ( light pulse) 1 ครั้ง เราจะใช้แทน บิต “1” และถ้าไม่ส่งสัญญาณแสงก็คือ บิต “0”.
ตารางเปรียบเทียบการใช้งานสายเคเบิลต่าง ๆ

๊  UTP, STP Coaxial Fiber Optic
  ค่าใช้จ่าย Low Medium High
  ระยะทาง Show 500 m. 2 km.
  การติดตั้ง  ง่าย  ไม่ยาก  ยาก
  สื่อที่เหมาะสม  ข้อมูล  ข้อมูล ภาพ เสียง  ข้อมูลมัลติมีเดีย
  การรบกวนของคลื่น  รบกวน  รบกวน  เกือบเป็น 0
  การดักสัญญาณ  ทำได้  ทำได้  ทำไม่ได้
  ความเร็ว  ปานกลาง  ปานกลาง  สูงมาก
สายสัญญาณที่ใช้ในระบบเครือข่าย
4 ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless Network)
• การส่งคลื่นสัญญาณวิทยุ (Radio Transmission)
เป็นคลื่นที่สร้างขึ้นได้ง่าย สามารถส่งได้ในระยะทางที่ไกลและยังสามารถเดินทางผ่านสิ่งกีดขวางได้อีกด้วย แต่จะมีข้อเสียคือ ที่คลื่นความถี่ต่ำคลื่นจะสามารถเดินทางผ่านวัตถุกีดขวางได้เป็นอย่างดี แต่กำลังสัญญาณจะลดลงอย่างรวดเร็วถ้าเดินไกลออกไป ขณะที่คลื่นความถี่สูงคลื่นจะเดินทางเกือบเป็นแนวเส้นตรง แต่จะเกิดการสะท้อนเมื่อมีวัตถุมาขวางกั้น และจะถูกดูดซึมเมื่อมีการเดินทางผ่านสายฝน นอกจากนี้ คลื่นยังถูกรบกวนได้ง่ายจากการทำงานของมอตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้า
5 ระบบไมโครเวฟ ( Microwave)
เป็นการส่งสัญญาณที่มีคลื่นความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุ โดยจะส่งเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่ง หรือที่เราเรียกว่าสัญญาณแบบเส้นสายตา (line of sight) ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาณที่ส่ง ไปนั้นจะไม่ไกลกว่าเส้นขอบฟ้าโลก เพราะว่าสัญญาณจะเดินทางเป็นเส้นตรง ดังนั้นเราจึงตั้งสถานีไว้ในที่สูงเพื่อช่วยให้สามารถเดินทางได้ไกลขึ้น ปกติแต่ละสถานีจะครอบคลุมพื้นที่สัญญาณประมาณ 30 – 50 กม.

นอกจากนี้สามารถส่งสัญญาณความถี่ในทิศทางเดียวกันโดยจะมีรบกวนกันเอง เป็นระบบที่สามารถติดตั้งได้ง่าย มีราคาถูก แต่มีอัตราการส่งข้อมูลสูง แต่จะมีข้อเสียคือสัญญาณมักจะถูกรบกวนจาก อุณหภูมิ พายุและฝน และยังไม่สามารถผ่านสิ่งกีดขวางได้ อีกทั้งบางครั้งสัญญาณอาจมีการหักเหระหว่างทางได้
ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ในบริการโทรศัพท์ทางไกล และโทรศัพท์มือถือ
6 ระบบดาวเทียม ( Satellite)
มีหลักการส่งสัญญาณที่คล้ายกับระบบไมโครเวฟ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. ดาวเทียมโคจรอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะมีระดับความสูงอยู่ที่ 750 กม. ผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ โดยจะทิ้งระยะห่างกัน 32 องศา
2. ดาวเทียมโคจรอยู่เหนือพื้นโลก ที่ความสูง 36000 กม. และใช่เวลาในการหมุนรอบโลกประมาณ 24 ชม. ซึ่งเราเรียกว่าดาวเทียมประจำที่ (geosynchronous satellite) แต่จะมีการโคจรห่างจากกัน 2 องศา เมื่อวัดจากแกนโลก ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสัญญาณรบกวน ดังนั้นจึงสามารถมีได้ทั้งหมด 180 ดวง ซึ่งแต่ละดวงสามารถรับและส่งสัญญาณหลายช่วงความถี่ในเวลาเดียวกัน และยังสามารถอยู่ในวงโคจรเดียวกันได้ถ้าใช้ความถี่ต่างกัน
ปัจจุบันมีการใช้ดาวเทียมในการส่งสัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ สัญญาณ


หลักการพิจารณาเลือกใช้สื่อกลาง
      ในการใช้งานด้านการสื่อสารข้อมูลหรือการออกแบบเครือข่าย สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรพิจาีรณาก็คือ "การใช้สื่อกลางที่เหมาะสม" เพราะหากมีการเลือกใช้สื่อกลางที่ไม่เหมาะสมแล้ว เครือข่ายนั้นอาจไม่สมบูรณ์หรือนำไปสู่ความล้มเหลวได้ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่ควร
พิจารณา มีดังนี้
1. ต้นทุน     - พิจารณาต้นทุนของตัวอุปกรณ์ที่ใช้
                 - พิจารณาต้นทุนการติดตั้งอุปกรณ์
                 - เปรียบเทียบราคาของอุปกรณ์ และประสิทธิภาพการใช้งาน
2. ความเร็ว - ความเร็วในการส่งผ่านสัญญาณ จำนวนบิตต่อวินาที
 
                 - ความเร็วในการแพร่สัญญาณ ข้อมูลที่สามารถเคลื่อนที่ผ่านสื่อกลางไปได้
 
3. ระยะทาง  - สื่อกลางแต่ละชนิดมีความสามารถในการส่งสัญญาณข้อมูลไปได้ในระยะทางต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้สื่อกลางแต่ละ
                    ชนิดจะต้องทราบข้อจำกัดด้านระยะทาง เพื่อที่จะต้องทำการติดตั้งอุปกรณ์ทบทวนสัญญาณเมื่อใช้สื่อกลางในระยะไกล
 
4. สภาพแวดล้อม  - เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในเลือกใช้สื่อกลาง เช่น สภาพแวดล้อมที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล จะมี
                           คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่าง ๆ ดังนั้นการเลือกใช้สื่อกลางควรเลือกสื่อกลางที่ทนทานต่อสัญญาณรบกวนได้ดี
5. ความปลอดภัยของข้อมูล หากสื่อกลางที่เลือกใช้ไม่สามารถป้องกันการลักลอบนำข้อมูลไปได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจะต้องมีการ
                                     เข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งไปในสื่อกลาง และผู้รับก็ต้องมีการถอดรหัสที่ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน จึงจะ
                                     สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ได้