วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

 1. การเตรียมตัวก่อนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
       ก่อนที่จะเริ่มติดตั้งอินเทอร์เน็ต เราจะต้องเตรียมอุปกรณ์ หรือสิ่งที่จำเป็นต่างๆ ให้พร้อมเสียก่อน สิ่งที่จำเป็นในการติดตั้งอินเทอร์เน็ต มีดังต่อไปนี้

1.เครื่องคอมพิวเตอร์        

        เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขายกันท้องตลาดส่วนใหญ่จะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น คุณสมบัติของเครื่อง อย่างน้อยควรเป็น Pentium II ขึ้นไป มีหน่วยความจำไม่ต่ำหว่า 64 Mb


2. โมเด็ม (Modem)       
        โมเด็มเป็นอุปกรณ์ในการส่งข้อมูลโดยแปลงสัญญาณ ดิจิตอลพอร์ตอนุกรมเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งออกไปตามสายตัวโทรศัพท์และเมื่อถึงโมเด็มปลายทาง ตัวโมเด็มก็จะ แปลงสัญญาณอนาล็อกกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้ง โมเด็มมีให้เลือกใช้งาน 2 แบบ คือ
                2.1 โมเด็มภายนอก (External Modem)  เป็นโมเด็มที่ติดตั้งอยู่ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งง่าย การทำงานจะมีประสิทธิภาพดี ข้อเสีย คือ มีราคาแพง ซึ่งสามารถติดต่อได้ทั้งพอร์ต Com 1 และพอร์ต Com 2

                2.2 โมเด็มภายใน (Internal Medem) เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นการ์ด ข้อดี มีราคาถูก แต่ติดตั้งลำบาก และมีประสิทธิภาพการใช้งานต่ำกว่าโมเด็มภายนอก มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเหมือนกับการ์ด ทั่วๆไปเหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์พอสมควร เพราะโมเด็มประเภทนี้จะติดตั้งยากและ มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆโมเด็มที่ใช้งานควรมีคุณลักษณะตามมาตรฐาน ดังนี้
        1. ความเร็วไม่น้อยกว่า 56 Kbps
        2. อย่างน้อยต้อง ใช้กับ Protocol v.90
        3. รับ-ส่ง Fax 14.4 Kbps ตามมาตรฐาน v.7 ขึ้นไป
        4. มีมาตรฐานของ v.42 (Correction) และ v.42 bis (Compression)
์ 
3. คู่สายโทรศัพท์
         ต้องใช้คู่สายโทรศัพท์ 1 หมายเลขที่ใช้ปกติอยู่ตามบ้านหรือจะเช่าคู่สายโทรศัพท์สำหรับ เชื่อมต่อสัญญาณกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP เพิ่มก็ได้ เพราะจะได้แยกการใช้โทรศัพท์ธรรมดากับโทรศัพท์ที่ใช้กับเครื่องต่ออินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามคู่สาย โทรศัพท์ยังมีการให้เลือกใช้อีกหลายระดับซึ่งสามารถเช่าคู่สายเฉพาะที่จะใช้ต่อเชื่อมสำหรับระบบ คอมพิวเตอร์ เช่น สายต่อลีดส์ลาย (Leased Line) สายจากระบบ Data Net และสายแบบ ISDN (Integrated Service Digital Network) เป็นต้น แต่การใช้คู่สายพิเศษดังกล่าวจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้ใน ระดับองค์กรมากกว่าผู้ใช้ทั่วไป
4. ซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานบนอินเทอร์เน็ต          
   หมายถึงโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ Internet Explorer, ICQ เป็นต้น 
5. Internet
 Account 
        Internet Account คือ บัญชีผู้ใช้ที่แต่ละแห่งอนุญาตให้เจ้าของบัญชีมีสิทธิในการใช้บริการต่างๆ ถ้าเป็นบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จะหมายถึง ผู้ใช้คนนั้นจะมีชื่อในการล็อกอิน (Login Name, User Name) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เราจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้นเสียก่อน ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP มีอยู่หลายราย แต่ละรายก็มีความเร็วในการใช้งานแตกต่างกันออกไป รวมทั้งราคาค่าบริการการใช้งานก็แตกต่างกันไปด้วยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้นั้น เราจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่มีอยู่ในเขตจังหวัดนั้นเสียก่อน ซึ่งผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตก็อยู่ด้วยกันหลายราย แต่ละรายก็มีความเร็วในการใช้งานแตกต่างกันไป รวมทั้งราคาการใช้งานก็จะแตกต่างกันเช่นกัน การคิดราคาการใช้งานนั้น โดยส่วนใหญ่จะคิดเป็นรายชั่วโมง ประมาณชั่วโมงละ 15 ถึง 50 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการใช้งาน
 ลักษณะการให้บริการของ ISP มีดังนี้      
       1. สมาชิกรายเดือนแบบจำกัดชั่วโมง เป็นการให้บริการในลักษณะเช่าเหมาเป็นรายเดือน หากมีการใช้เกินกว่าชั่วโมงที่กำหนด ก็จะต้องเสียค่าบริการเพิ่มตามจำนวนชั่วโมงที่เกิน
        2. สมาชิกรายเดือนแบบไม่จำกัดชั่วโมง เป็นการให้บริการในลักษณะเช่าเหมาเป็นรายเดือนไม่กำจัดชั่วโมงที่ใช้งาน แต่ค่าบริการจะแพงกว่าแบบ 1
        3. แบบแพ็คเกจ เป็นการให้บริการลักษณะซื้อเหมาชั่วโมง เช่น แพ็คเกจอินเทอร์เน็ตแบบ 35 ชั่วโมง ราคา 499 บาท เป็นต้น เมื่อใช้งานจนครบ 35 ชั่วโมง ก็ต้องไปหาซื้อมาใช้งานใหม่

 ที่มา:http://www.chaiwbi.com/anet01/p05/t05a.html


  2. การติดตั้งโมเด็ม
       2.1         โมเด็ม 56 K
                        Dial-Up Modem (56K Dial-UP)

เป็นโมเด็มแบบอนาล็อคที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณผ่านระบบโทรศัพท์แบบธรรดา เวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เร็ต(ISP) ด้วย มาตราฐานล่าสุดที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ V.92 ซึ่งให้ Bit Rate หรืออัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 56/33.6 Kbps (รับข้อมูลขาลงจากอินเทอร์เน็ต หรือ Download ที่ความเร็ว 56 Kbps และส่งข้อมูล ขาขึ้น Upload ที่ความเร็ว 33.6 Kbps)
2.2         โมเด็ม ADSL ( โมเด็ม Hi – Speed )
          ADSL Modem (High-Speed Internet)เป็นโมเด็มแบบดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลกันด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนคู่สายโทรศัพท์แบบะรรดา โดยเลือกใช่ย่านความถี่ที่ไม่มีในการใช้งานอินเทอร์เน็ต (โมเด็มแบบ Dial-Up ในระหว่างใช้งานอินเทอร์เน็ตจะำม่สามารถใช้โทรศัพท์ปกติไปพร้อมๆกันได้) อีกทั้งเวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั่ง ก็ไม่จำเป็นต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์เหมือนกับ 56k Dial-Up อีกด้วย ปัจจุบันเทคโนโยยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Hing-Speed Internet) และโมเด็มของ ADSL นี้กำลังเป็นที่นิยมและได้กลายเป็นมาตรฐานที่ใช้งานกันโดยทั่วไป ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ความเร็วได้ตามต้องการจากผ๔้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เช่น 256/128, 512/256 และ 1024/512 Kbps เป็นต้น โดยแต่ละความเร็วจะมีอัตราค่าบริการแต่กต่างกันไปสำหรับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดด้วยระบบ ADSL ในปัจจุบันจะอยู่ที่8192/1024 Kbps หรือก็คือ รับส่งข้อมูลขาลงจาก ISP (Download) ด้วยความเร็วสูงสุด 16 Mbps และส่งข้อมูลขาขึ้นไปหา ISP (Uplpad) ด้วยความเร็วสูงสุด 1 Mbps
2.3         Wireless Router Modem
 1. เปิดเว็บบราวเซอร์แล้วพิมพ์192.168.1.1 แลว้ กด Enter ที่แป้นคีย์บอรด์ เพื่อเข้าสู้หน้าAdmin
 2. จะมีdialog box แสดงขึ้นมาให้เรากรอก Username และ Password ให้กรอกข้อมลู ดังนี้User name : admin
Pasword : admin
 จากนั้นกดที่ปุ่ม OK
3. เมื่อเข้าสู้หน้าเว็บ Admin ไดแล้ว ให้ใช้เมาส์กดเลือกที่ Quick Star
4. ใช้เมาส์กดเลือกที่ RUN WIZARD
5. ใช้เมาส์กดเลือกที NEXT
6. ใช้เมาส์กดเลือก Time Zone ให้เป็น (GMT+07:00) Bangkok,Jakata,Hanoi แล้ว กด NEXT
7. กดเลือกที่ PPPoE / PPPoA ใชเมาส์กดเลือกที่ NEXT
8. ในหน้าPPPoE/PPPoA ให้ก้รอกข้อมลู 
9. ในหน้าWlan ใหตั้งค้า
10. ในหน้าQuick Start Complete ให้กดที่ปุ่ม NEXT
11. หลงัจากกดปุ่มNEXT จนปุ่ม เปลี่ยนเป็น คำว่า Close ก็ให้กดที่ปุ่ม Close เพื่อปิดิหน้าจอแลว้ รอประมาณ 1 นาทีจงึสามารถใช้งานอินเตอเต็ ได้ตามปรกติ

 3. การกำหนดค่าตัวเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็ม 56 K 

1.คลิก Start >> All Programs >> Accessories >> Communications >> New Connection Wizard
2. คลิก Next
3. ติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Connect to the Internetเสร็จแล้วคลิก Next
4. ติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Set up my connection manuallyเสร็จแล้วคลิก Next
5. ติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก
แถว Connect using a dial-up modem เมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็ม 56K
แถว Connect using a broadband connection that requires a user name and password เมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง DSL หรือเคเบิ้ลโมเด็ม ที่ต้องป้อน user name และ password ทุกครั้งที่เชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ต
แถว Connect using a broadband connection that is always on เมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง DSL หรือเคเบิ้ลโมเด็ม ที่เชื่อมต่อตลอดเวลาเสร็จแล้วคลิก Next
6. ตั้งชื่ออะไรก็ได้ ที่ง่ายต่อการจดจำ พิมพ์ในช่อง ISP Name (ISP=Internet Service Provider=ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) ตัวอย่างเช่น ใช้อินเทอร์เน็ตขององค์การโทรศัพท์ พิมพ์ TOT หรือเป็นชื่ออื่นก็ได้ แต่ต้องเป็นอักษรภาษาอังกฤษเท่านั้นเสร็จแล้วคลิก Next
7. พิมพ์หมายเลขเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของ ISP นั้น ในช่อง Phone number ตัวอย่างเช่น TOT พิมพ์ 1222เสร็จแล้วคลิกNext
8. พิมพ์ Username และ Password ที่ต้องใช้ผ่านในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของ ISP นั้น ตัวอย่างเช่น TOT พิมพ์U89$0y)9@totonline.net ในช่อง Username และพิมพ์ j4**9c+p ในช่อง Password กับที่ Confirm Passwordเสร็จแล้วคลิก Next
9. คลิก Finish เสร็จสิ้นการสร้าง New Connection Wizard
10. จากนั้น ต้องตั้งค่าการทำงานใน Internet Options ของ ISP นั้น
คลิก Start >> Control Panel >> Network and Internet Connections >> Internet Options >> Connections
จะเห็นชื่อ TOT ที่สร้างไว้ อยู่ในช่อง Dial-up and Virtual Private Network settings ให้คลิกชื่อ ISP ในช่องนั้น ที่ต้องการจะตั้งค่า ในที่นี้คลิก TOT
แล้วมาติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Always dial my default connection
เสร็จแล้วคลิกที่ Set Default
11. เมื่อเลือก ISP ไหนเป็น Default แล้ว ให้กลับไปติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Never dial a connection
การที่ต้องติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Never dial a connection มีประโยชน์มาก ป้องกันไม่ให้วินโดว์หมุนเบอร์ต่ออินเทอร์เน็ตเองอัตโนมัติ เวลาที่เน็ตหลุด หรือเน็ตครบเวลาตัด อันจะทำให้ค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้นโดยเปล่าประโยชน์
12. จากนั้น คลิกที่ Settings
13. จะเห็น User name และ Password ที่ตั้งไว้ ข้อน่าสังเกตอีกอย่าง ช่องสี่เหลี่ยมเล็ก จะปล่อยว่างไว้ทั้งหมด (ในภาวะปรกติ)
ต่อไป คลิกที่ Properties
14. จะเห็น หมายเลขเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้หมุนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ในช่อง Phone number และสามารถลบทิ้ง แล้วเปลี่ยนเป็นเบอร์ใหม่ได้ ในกรณีที่ ISP นั้น มีหลายเบอร์ให้ใช้
จะต้องมีติ๊กทำเครื่องหมาย ถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก แถว Show icon in notification area when connected เพราะถ้าไม่ได้ทำเครื่องหมายถูกไว้ จะไม่มีรูปโทรศัพท์คู่กะพริบ ตรงมุมขวาล่างจอต่อไป คลิกที่ Configure
15. ที่ maximum speed (bps) คลิกเลือกค่ามากสุดที่มี ในนี้ที่เห็น คือ 921600
ส่วนช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ติ๊กทำเครื่องหมายถูก
16. เมื่อเลือก maximum speed (bps) เสร็จแล้ว คลิก OK กลับออกมา คลิกที่ Alternates
17. เมื่อคลิก Alternates เข้ามา จะเห็นหมายเลขเบอร์โทรศัพท์ของ ISP ในนี้ที่เห็น คือ 1222 และจะเห็นมีปุ่ม Add... กับปุ่มอื่นๆอีก โดยปุ่มAdd มีไว้คลิกเพิ่มหมายเลขเบอร์โทรศัพท์ของ ISP เดียวกัน หรือจะเป็นของ ISP รายอื่นก็ได้
ที่ทำไว้ Add ใช้ได้หลายเบอร์ เพื่อเวลาที่เบอร์แรก หรือเบอร์ต้นหมุนไม่ผ่าน สายไม่ว่าง ก็จะหมุนเบอร์อันดับต่อๆมา วนกระทั่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
แต่แนะนำให้มีเพียงเบอร์เดียวในนี้ จะเหมาะสมกว่า เพื่อป้องกันค่าใช้โทรศัพท์ที่เพิ่มขึ้นโดยเปล่าประโยชน์
ช่องสี่เหลี่ยมเล็กทั้งหมดในนี้ ให้ปล่อยว่างไว้
เสร็จแล้วคลิก OK ออกมา
18. ต่อมาคลิกด้านบน ที่แท็ป options และตั้งค่าตามรูปที่เห็นข้างล่างต่อไปนี้
เสร็จแล้วคลิก OK
19. ต่อมาคลิกด้านบน ที่แท็ป Advanced ตรงนี้ ที่ไว้กำหนดการทำงานของ ไฟร์วอล(Firewall) หรือระบบป้องกันของวินโดว์เอง
ถ้าจะเปิดไฟร์วอลของวินโดว์ให้ทำงาน เพียงคลิกทำเครื่องหมาย ถูก ภายในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก แถว Protect my computer and network by limiting or preventing access to this computer from the Internet
แนะนำให้ ยกเลิก การใช้ไฟร์วอลของวินโดว์ จะทำให้การทำงานต่างๆมีเสถียรภาพดีขึ้นมาก แต่ต้องได้ติดตั้งซอฟแวร์ระบบป้องกันของตัวอื่นไว้แล้ว ได้แก่ Ad-Aware SE Professional, ZoneAlarm Pro เป็นต้น
20. เสร็จจากไฟร์วอล ออกมาที่ เห็นตามรูปข้างล่างนี้ จากนั้นคลิก Advanced
21. เมื่อคลิก Advanced (รูปบน) จะมาที่ Advanced Dial-Up ให้ตั้งค่าไว้ 1 ที่ Try to connect
22. เสร็จจาก Advanced Dial-Up (รูปบน) คลิก OK มาถึงรูปข้างล่างนี้ แล้วคลิก LAN Settings...
23. เมื่อคลิก LAN Settings... (รูปบน) จะมาที่ Local Area Network (LAN) Settings ที่ตำแหน่งนี้ ไว้สำหรับตั้ง proxy ของระบบ LANเท่านั้น
ปรกติ ในนี้จะปล่อยว่างไว้ทุกช่อง ดังรูปข้างล่างนี้ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
เสร็จแล้วคลิก OK ออกจากการตั้งค่า New Connection Wizard
24. แนะนำเพิ่มเติม เทคนิคการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โมเด็ม 56k
ในภาวะปรกติ ถ้าการเชื่อมต่อครั้งแรก ERROR ให้คลิก CANCEL แล้วกลับไปเริ่มต้นใหม่ อย่าคลิกให้เชื่อมต่อทันที
เมื่อกำลังเชื่อมต่อ และขณะที่มีเสียงความถี่สูงอยู่นั้น ห้ามคลิกเมาส์เล่น หรือคลิกอะไรก็ตาม อย่ามือซน ควรปล่อยให้เมาส์อยู่นิ่งๆ กระทั่งการเชื่อมต่อสำเร็จ เห็นจอคู่เล็กกะพริบอยู่ที่มุมขวาล่างจอ 
  
 4. การกำหนดค่าตัวเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

1. เปิดหน้าต่างเว็บเบราเซอร์อย่าง Internet Explorer หรือ Mozilla Firefox แล้วใส่ค่า IP Address ของตัวโมเด็มเข้าไป ก็จะได้หน้าต่างดังรูป
IP Address ของโมเด็มบางยี่ห้อจะไม่เหมือนกัน อาจจะเป็น 192.168.1.1 ตรงนี้เราสามารถเปิดดูจากคู่มือได้ครับ แล้วกรอกชื่อUsername/Password สำหรับล็อกอิน
ในที่นี้ผมขอเอารูปตัวอย่างของโมเด็มที่ใช้อยู่มาทำภาพประกอบก็แล้วกัน การตั้งค่าต่อไปนี้กับโมเด็มยี่ห้อ/รุ่นอื่นๆไม่แตกต่างกันมาก
        2. เมื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบก็จะพบกับหน้าจอหลัก แล้วเลือก Setup Wizard สำหรับการตั้งค่าอย่างง่าย
        3. คลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่างๆ
        4. เลือกเขตเวลาให้ตรงกับประเทศที่อยู่อาศัย
        5. เลือกประเทศที่อยู่อาศัยและประเภทของการติดต่อสื่อสาร
        6. ตรวจสอบดูว่าค่าหลักๆอย่างค่า VPI, VCI และ Protocol ของท่านกับ ISP ค่าใดตรงกับ ISP ที่ท่านใช้บริการอยู่ก็ให้เอามาใส่ให้ตรงกับการปรับแต่งของโมเด็มครับ แล้วใส่ชื่อ Username และ Password ให้ตรงกับที่ทาง ISP ให้มา
        7. ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย หลังจากนี้ ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตครั้งต่อไป ก็เพียงแค่เปิดการทำงานของโมเด็มและเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทันที

  5. การกำหนดค่าตัวเชื่อมต่อผ่าน Wireless Router Modem

1.แกะกล่องกันเลย ไม่อธิบายนะครับว่าประกอบยังไงบ้างเพราะมันมีแค่สาย โทรศัพท์ สายแลน และเสาสัญญาณ ไวเลสเท่านั้น (ดูตามคู่มือ) จัดการติดตั้งให้เรียบร้อยแล้วเสียบสาย LAN เข้าที่ router กับเครื่องคอมของคุณ
2.จากนันเปิด web browser ขึ้นมาพิมพ์ 192.168.1.1  แล้วกด enter ใส่ Username และ password ว่า admin
3.เตรียมรายละเอียดการติดตั้งที่ไปขอมาจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ให้เรียบร้อยในภาพตัวอย่างเป็นของ TOT ครับ
4.ที่ Quick start เลยครับง่ายสุด เค้ามี wizard ให้เราทำตามอย่างง่ายดาย
5.จะมีหน้าต่าง Wizard เล็ก ๆ ขึ้นมาบอกขั้นตอนว่ามีอะไรบ้าง
6.ตั้งค่า Timezone ของเมืองไทยคือ +เลือกแล้วกด next เลย
7.เลิก ISP connection type สำหรับเมืองไทยเป็นค่านี้หมดครับ PPPoE/PPoA
8.จากนั้นใส่ User name และpassword ที่ได้มาจากผู้ให้บริการและใส่ค่า VPI,VCI ตามที่ผู้ให้บริการกำหนดมาครับ
***ค่า VPI/VCI ของผู้ให้บริการเจ้าต่าง ๆ  ที่มา www.adslthailand.com
9.ขั้นตอนนี้เป็นการตั้งค่า wireless LAN ครับใส่ค่า SSD (Workgroup ของ WLAN ถ้าคุณตั้งชื่อเดียวกับ Workgroup ของ LAN ธรรมดาจะทำให้มันสามารถมองเห็นกันได้ครับ)
จากนั้นก็ให้ตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับการเข้าระบบ WLAN มีให้เลือกทั้ง 64 และ 128 bit ก็เลือกแล้วก็ไปใส่key ตามจำนวน bit ที่เลือกไว้ครับ
10.เรียบร้อยแล้ว กด next และ close รอสักพักเพื่อให้ router reboot
11. reboot เสร็จแล้วเข้ามาดูหัวข้อ Status ถ้าเซตถูกสถานะมันจะเป็น UP แสดงว่าเราสามารถใช้ Internet ได้แล้ว


วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กฎหมายและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

กฎหมายและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


กฏหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต     
      กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี National Information Technology Committee : NITC  เป็นผู้ควบคุมดูแลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือรวมทั้งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันทุกองค์การต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลผลประโยชน์ของผู้ที่นำข้อมูลมานำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทางคณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( National Information Technology Committee : NITC ) เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Law ) จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นบังคับทั้งหมด 6 ฉบับ ได้แก่        
     1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์          
     2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือทางอิเล็กทรอนิกส์         
     3. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์          
     4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์         
     5. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล          
     6. กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78



ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

 การกระทำการใดๆที่มีกฎหมายให้รับรองลิขสิทธิ์ ถ้าเป็นงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือสิ้นอายุการควบคุมตามกฎหมายแล้ว การกระทำต่องานนั้นย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะไม่ได้ไปจดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ยังมี
          1  งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์
          2  ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
1. งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์งานที่อาจมีลิขสิทธิ์ มีดังนี้ คือ
      1  ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างที่มีลักษณะข่าวสาร ซึ่งไม่ใช่งานวรรณคดีหรือวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ
     2  รัฐธรรมนูญ กฎหมาย
     3  ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
     4  คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของราชการ
     5  คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม 1) – 4 ) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
2. การกระทำที่ถือเป็นข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์การกระทำกับงานอันมีลิขสิทธิ์ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีสิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินควร ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการกระทำต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้
    1  กระทำการเพื่อประโยชน์ในการศึกษามิใช่หากำไร
    2  กระทำการเพื่อใช้งานส่วนตัว
    3  กระทำการเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
    4  กระทำการโดยรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น คัดลอกเลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควร จากงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยการแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ย่อมไม่
เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์


ความปลอดภัยของข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

                องค์กรจำนวนมากได้สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในองค์กร มีการใช้มาตรฐานเดียวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราเรียกเครือข่ายเฉพาะในองค์กรนี้ว่า อินทราเน็ต อินทราเน็ตเชื่อมโยงผู้ใช้ทุกคนในองค์กรให้ทำงานร่วมกัน มีการกำหนดการทำงานเป็นทีมที่เรียกว่า เวอร์กกรุป แต่ละทีมมีระบบข้อมูลข่าวสารของตน มีสถานีบริการข้อมูลที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ การทำงานในระดับเวอร์กกรุปจึงเน้นเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เช่น ทีมงานทางด้านการขาย ทีมงานทางด้านบัญชี การเงิน การผลิต ฯลฯอินทราเน็ต ได้รวมทีมงานต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขององค์กร มีการแลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกัน ใช้ทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ร่วมกัน มีระบบการทำงานที่เรียกว่า เวอร์กโฟล์ว (workflow)อย่างไรก็ดี การทำงานขององค์กรมิได้กำหนดขอบเขตเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น หลายองค์กรนำเครือข่ายอินทราเน็ตของตนเองเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นได้ การทำงานร่วมกับองค์กรอื่นเป็นหนทางของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อความรวดเร็ว ความสะดวกสบายในการทำงาน องค์กรจำนวนมากมีโฮมเพ็จของตนเองเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ มีการรับใบคำสั่งซื้อจากภายนอก หรือให้บริการหลังการขายโดยตรงทางเครือข่ายเมื่อนำเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายสาธารณะ ย่อมมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร การรักษาความปลอดภัยจึงเป็นระบบที่ต้องคำนึงถึง ถึงแม้ว่าจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายของระบบก็จำเป็นต้องทำ เพราะหากเกิดปัญหาในเรื่องข้อมูลข่าวสารหรือการรั่วไหลของข้อมูลแล้ว ความสูญเสียจะมีมากกว่าระบบการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่มีในขณะเรียกเข้าหาระบบคือ รหัสพาสเวิร์ด หรือรหัสผ่าน ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบ เช่น เรียกใช้เซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต้องทราบว่าใครเป็นผู้เรียกเข้าหา โดยให้ผู้เรียกป้อนรหัสพาสเวิร์ด ผู้ใช้ทุกคนจะมีรหัสเฉพาะของตน จำเป็นต้องให้ผู้ใช้กำหนดรหัสที่ยากต่อการถอดโดยผู้อื่น โดยหลักการพื้นฐานควรกำหนดรหัสนี้ให้มีความยาวไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร ควรให้มีการผสมระหว่างตัวอักขระพิเศษและตัวเลขด้วย เช่น mypo@123! ไม่ควรนำเอาคำศัพท์ในพจนานุกรม หรือใช้ชื่อ ใช้วันเกิด เพราะรหัสเหล่านี้ง่ายต่อการถอด อย่านำรหัสนี้ให้กับผู้อื่น และควรเปลี่ยนรหัส เมื่อใช้ไปได้ระยะเวลาหนึ่งไฟร์วอล เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดให้เป็นทางผ่านเข้าออก เพื่อป้องกันการแปลกปลอมของแฮกเกอร์ภายนอกที่จะเจาะเข้าระบบ และยังควบคุมการใช้งานภายใน โดยกำหนดสิทธิ์ของแต่ละบุคคลให้ผ่านออกจากระบบได้ ดังนั้นเมื่อมีการนำเอาเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเทอร์เน็ต ระบบไฟร์วอลจึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ใช้ในการป้องกันและรักษาความปลอดภัยโดยปกติมักใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นไฟร์วอล เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะมีการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสองด้าน ด้านหนึ่งเชื่อมกับอินทราเน็ต อีกด้านหนึ่งเชื่อมกับ อินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงเป็นเสมือนยามเฝ้าประตูทางเข้าออก เพื่อตรวจสอบการเข้าออกของบุคคลไฟร์วอลจะควบคุมสิทธิ์ และติดตามการใช้งาน เช่น กำหนดให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ได้ในกรอบที่จำกัด และเมื่อเข้ามาก็จะติดตามการใช้งาน หากมีความพยายามจะใช้เกินสิทธิ์ เช่น การ ล็อกออนไปยังเครื่องที่ไม่มีสิทธิ์ก็จะป้องกันไว้ ขณะเดียวกันอาจเป็นตัวตรวจสอบเอกสารหรือข้อมูลบางอย่าง เช่น จดหมาย หรือแฟ้มข้อมูลระบบของไฟล์วอลมีหลายระดับ ตั้งแต่การใช้อุปกรณ์สื่อสาร เช่น เราเตอร์ทำหน้าที่เป็น ไฟร์วอล เพื่อควบคุมการติดต่อสื่อสาร หรือป้องกันผู้แปลกปลอม จนถึงขั้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ ไฟร์วอลอันทรงประสิทธิภาพ



รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 


การกระทำในลักษณะของอาชญากรทางคอมพิวเตอร์แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. พวกมือใหม่ ( Novices ) หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะมิใช่ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย คือ มิได้ดำรงชีพโดยการกระทำความผิด
2. นักเจาะข้อมูล ( Hacker ) ผู้ที่ชอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยี เข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
3. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น พวกที่พยามสั่งของที่ทำด้วยเทคโนโลยี เช่นบัตรเครดิต , บัตรเอทีเอ็ม เป็นต้น
4. อาชญากรมืออาชีพ คือ ผู้ที่ดำรงชีพด้วยการกระทำความผิด เช่น พวกที่ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงินหรือการจารกรรมข้อมูลไปจำหน่าย เป็นต้น


  

กลุ่มอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

     อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ดังนี้                       1.Novice เป็นพวกเด็กหัดใหม่(newbies)ที่เพิ่งเริ่มหัดใช้คอมพิวเตอร์มาได้ไม่นาน หรืออาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    2.Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
    3.Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
    4.Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
    5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
    6.Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง
    7.Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญาญากรรมคอมพิวเตอร์)
    1.การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
    2.อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
    3.การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ
    4.ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
    5.ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
    6.อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาราณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป ระบบการจราจร
    7.หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
    8.แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็น)ระโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
    9.ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง


วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


 ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


            อินเทอร์เน็ต มาจากคำว่า Inter Connection Network ซึ่งหมายถึง ระบบเครือข่ายของเครือข่าย กล่าวคือ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกัน โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือเรียกว่า โปรโตรคอล (Protocol)


รูปที่ 1 แสดงลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต

ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต






ประวัติอินเทอร์เน็ต

     อินเทอร์เน็ต ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อ ยู.เอส. ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลายหรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์คขึ้นมาชื่อ ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency Net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทางทหาร องค์กร รัฐบาลและสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก





รูปที่ 2 แสดงลักษณะของระบบเครือข่าย ARPAnet

                   
 ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

         อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนอีเมล์เป็นครั้งแรก โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใน โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยง โดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต (URL) Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย การใช้งาน อินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของ บริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา




รูปที่ 3 แสดงลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


 อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร

       เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดที่จะเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ซึ่งผู้ที่รับการเชื่อมต่อก็จะต้องลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือรวมถึงค่าสัมปทานจากรัฐ (ขึ้นกับกฎหมายของแต่ละประเทศ ) จึงต้องคิดค่าบริการจากคนที่มาต่อผ่านตามสมควร ผู้ให้บริการเชื่อมต่อนี้ก็คือ ISP นั่นเอง ซึ่งแต่ละรายก็เก็บค่าบริการไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อและเงื่อนไขบริการแก่คนอื่นๆ ฯลฯหรือบางรายก็ให้บริการฟรีแก่ลูกค้า เช่น สถาบันการศึกษาทำตัวเป็น ISP ให้นักศึกษาในสังกัดใช้อินเทอร์เน็ตฟรี หรือบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีแก่ลูกค้าที่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ของตน เป็นต้น  
        สำหรับ ISP เองนั้นก็ต้องเชื่อมต่อกันเป็นทอดๆ เพื่อหาช่องทางที่จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับลักษณะธุรกิจของตน เช่น ISP รายย่อยในต่างจังหวัดต่อเข้ามาผ่านISP รายใหญ่ในกรุงเทพหรือ ISP ในประเทศต่อออกไปที่ ISP ใหญ่ในต่างประเทศ โดยมีการเก็บค่าบริการกันเป็นทอดๆแล้วแต่ว่าใครจะต่อกับใคร จะต่อหลายทางพร้อมๆกันเพื่อเพิ่มความเร็วและเป็นช่องทางสำรองก็ได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินงานของ ISP ในต่างประเทศเองก็ไม่ผูกขาด เพราะมีทำกันหลายๆรายและหากมีลูกค้าผู้ใช้งานมากพอก็อาจมีผู้ลงทุนตั้ง ISP รายใหม่ วางสายและสร้างเครือข่ายเพิ่มได้อีก 






ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต



       เนื่องจากเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงติดต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆที่ต้องการได้ ซึ่ง สรุปประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตได้ ดังนี้
 1.ด้านการศึกษา
          อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ช่วยให้ผู้ที่ศึกษาสามารถหาข้อมูล หาความรู้ต่างๆ เพิ่มเติมได้ ซึ่งจะมีการเผยแพร่ข้อมูล งานวิชาการต่างๆ มากมาย



 รูปที่ 1 แสดงลักษณะประโชน์ด้านการศึกษา


2.ด้านธุรกิจ
      อินเตอร์เน็ตสามรถทำธุรกิจด้านการค้า ซื้อและขายสินค้าบริการต่างๆ ได้โดยที่ผู้ซื้อผู้ขายสามารถติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรง ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และยังช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจอีกด้วย


รูปที่ 2 แสดงลักษณะประโชน์ด้านธุรกิจ


3.ด้านรับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail : E-mail)
      อินเทอร์เน็ตสามารถรับและส่งจดหมายได้อย่างรวดเร็วทั่วโลก ซึ่งถือว่าสะดวกมากในยุคปัจจุบัน



 รูปที่ 3 แสดงลักษณะประโชน์ด้านรับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

4.ด้านให้ความบันเทิง ข่าวสาร สิ่งที่น่าสนใจ
     อินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นแหล่งความบันเทิงได้ในอีกรูปแบบหนึ่ง เหมือนกับนั่งดูทีวี ดูหนัง อ่านหนังสือ หรือบทความต่างๆ ซึ่งสามารถจะดูหรือใช้งานที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้ตามความต้องการ


 รูปที่ 4 แสดงลักษณะประโชน์ด้านความบันเทิงต่างๆ

โทษของอินเทอร์เน็ต

1. โรคติดอินเทอร์เน็ต
ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ
มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวน กระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
ต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นเรื่อยๆ
รู้สึกหงุดหงิดมาก เมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเองได้
หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
เสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ในครอบครัว
หมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ตแม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
นักจิตวิทยา ชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมาก พบว่าผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต



 รูปที่ 5 แสดงลักษณะโทษด้านสุขภาพ


2. อนาจารผิดศีลธรรม
       เนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่อไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามก อนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่าง ๆ จาก คลิปหลุดและคลิปแอบถ่าย ซึ่งอาจเป็นการนำไปสู่การหลอกลวงและอาชญากรรมได้


 รูปที่ 6 แสดงลักษณะโทษด้านศีลธรรม


3. เด็กติดเกม
      ในปัจจุบันการเล่นเกมออนไลน์ ของเด็กนั้นข้อมูลจาก โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาสังคมไทย พบว่าเด็กส่วนใหญ่ที่เข้าไปใช้บริการในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่นั้นไปเพื่อเล่นเกม 90% และเน้นเกมการต่อสู้รุนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การเลียนแบบ และอาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมได้


 รูปที่ 7 แสดงลักษณะโทษด้านสังคม


4. ไวรัสคอมพิวเตอร์
     ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะขยายพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ เพื่อที่จะทำลายข้อมูลต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการใช้หน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์


รูปที่ 8 แสดงลักษณะโทษด้านไวรัสคอมพิวเตอร์




 บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต (Internet Service)
      บริการบนอินเทอร์เน็ต หมายถึง สิ่งที่เราสามารถกระทำได้เมื่อเราเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ซึ่งมีมากมายหลายอย่าง ดังนี้
1. เวิลด์ ไวด์ เว็บ (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุม
        เป็นอีกบริการหนึ่งที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ที่มีลักษณะของการแสดงผลในรูปแบบกราฟิกสวยงามตระการตา และ เต็มไปด้วยสีสันเพียบพร้อมทั้งภาพและเสียงต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีบทบาทช่วยให้การศึกษาในโลกไร้พรมแดนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ด้วยความสามารถในการ เชื่อมโยงข้อมูล จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้ ด้วยการคลิกเมาส์ที่จุดเชื่อมโยง เพียงครั้งเดียว ทำให้สามารถผูกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงเรียกบริการนี้ว่า เครือข่ายใยแมงมุม



                              รูปที่ 1 แสดงลักษณะ World Wide Web (www) หรือเครือข่ายใยแมงมุม


2. E-mail (Electronic mail) หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
       เป็นอีกบริการหนึ่งในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมาก สามารถส่งตัวอักษร ข้อความต่างๆ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังผู้รับอาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนหลายๆคนได้ โดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับ เป็นผู้ใช้ที่อยู่ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้ สามารถติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันได้ทั่วโลกมีความสะดวก รวดเร็วและสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้ให้ผู้รับจนกว่าจะมีการเปิดเช็คดู เป็นต้น



 รูปที่ 2 แสดงลักษณะของ E-mail หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

3. การสนทนาแบบออนไลน์ (Chat)
       บริการสนทนาออนไลน์ ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน ด้วยการพิมพ์ข้อความต่างๆทางคีย์บอร์ด เสมือนกับการคุยกันทั่วไป ซึ่งสนุกและรวดเร็ว บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกันหรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คนในลักษณะของการ Chat ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC การสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันโดยมีหลายโปรแกรมเช่น โปรแกรม Yahoo Messenger, Windows Live Messenger


 
รูปที่ 3 แสดงลักษณะของโปรแกรมYahoo Messenger และโปรแกรมWindows Live Messenger


4. กระดานข่าวสาร
        บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าวสาร (Web Board) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็น กลุ่มข่าว หรือ News group ทุกๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ Picpost กลุ่มผู้สนใจเรื่องน่าอ่าน กลุ่มผู้สนใจเรื่องความรัก กลุ่มผู้สนใจเรื่องเกมส์ กลุ่มผู้สนใจเรื่องดารานักร้อง กลุ่มผู้สนใจเรื่องการตกแต่ง และอื่นอีกมากมายแล้วแต่ผู้จัดทำจะจัดตั้งกลุ่มข่าวต่างๆขึ้นมา


 รูปที่ 4 แสดงลักษณะของกระดานข่าวสาร

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
WebPage

     หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser
Web site
     หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain Name เช่นwww.swry.ac.th (เว็บไซด์ สว.รย.)
HomePage 
     หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้มว่า index.html หรือ index.htm เสมอ
Web Browser 
     โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer
Domain Name
      หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมีการจดทะเบียนที่ www.internic.com แต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.thnic.co.th
URL(Uniform Resouire Locator)      
หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล
IP (Internet Protocol)
     เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารแบบ TCP
TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol) 
     เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกรรมในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้Protocol เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น
ISP (Internet Service Provider) 
     
คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ASP (Application Service Provider)
     คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง
IDC (Internet Data Center)
     คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทำธุรกรรมให้พร้อมสรรพ
E-Commerce (Elertronic Commerce) 
     คือการทำธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
Hypertext 
    คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ
Download
     คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากำลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ UploadUpload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป
POP (Post Office Protocal)
     ระบบที่ทำให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง
Internet Address 
     คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ตตัวอย่าง เช่น webmaster@datatan.net หมายถึงผู้ใช้ชื่อ webmaster เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า datatan.net
IP Address 
      คือหมายเลขรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้ำกันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.) ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com
Mailing List
      คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเข้าร่วม Mailing List โดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่อยู่ใน List ได้อ่านกัน
ที่มา 
http://forum.datatan.net/index.php/topic,414.0.html